สร้างสนามแบดมินตัน

โครงการสร้างสนามแบดมินตันชั้นดี ที่สามารถใช้แข่งขันได้ตามมาตรฐานสากล ไม่เช่นเรื่องที่จะเลือกช่างจากที่ไหนมาสร้างก็ได้ เนื่องจากนักกีฬาที่เข้ามาใช้คาดหวังผลการการเล่นของตัวที่อยากให้ออกมาดีที่สุด หากเล่นไม่ดีแข่งแพ้เพราะปัจจัยแวดล้อม เช่น สนามไม่ดี พื้นไม่เรียบ ลื่นง่าย แบบนี้จะไม่กลับมาเล่นอีกเลย ดังนั้นทีมงานสร้างสนามจึงต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ มีประสพการณ์มานาน สามารถคาดการณ์ผลกระทบล่วงหน้าได้ก่อนเริ่มโครงการ ขนาดพื้นที่ต่างๆ หากออกแบบไม่เหมาะสมก็จะเป็นการสร้างปัญหาและสิ้นเปลืองงบประมาณ งานติดตั้งพื้นสนามแม้อยู่ท้ายสุด แต่ก็ต้องรอผลงานเทพื้นระดับมาตรฐาน ดังนั้นการจะเริ่มลงมือเจ้าของโครงการควรมีความเข้าใจภาพรวมทั้งหมดก่อน และต้องนึกไว้เสมอว่า การสร้างสนามกีฬาควรใช้ทีมมืออาชีพเท่านั้น การเลือกมืออาชีพอาจดูเป็นค่าใช้จ่ายที่แพง แต่สุดท้ายจะช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมได้ในท้ายที่สุด งบประมาณไม่บานปลาย ได้สนามที่ต้องการ นักกีฬาเข้ามาใช้ได้อย่างพึ่งพอใจ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบ ก่อสร้างสนามแบดมินตัน

PB Sport เราเป็นผู้ติดตั้งพื้นสนามกีฬาระดับสากลอันดับ 1 ของประเทศ ได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินโครงการสนามกีฬาระดับใช้แข่งขันสากลของหน่วยงานต่างๆมากมาย เมื่อมีโอกาสได้ผ่านงานมาอย่างยาวนานจึงนำประสพการณ์มาสรุปเป็นข้อมูลเพื่อใช้ร่างเค้าโครงงานได้ดังนี้

  1. ขนาดที่ดิน ความกว้าง และความยาวของพื้นที่
  2. งบประมาณ
  3. จำนวนชั้น จำนวนที่จอดรถ ประเภทสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการให้มี คุณภาพของวัสดุก่อสร้าง ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ต่างๆ ในการก่อสร้าง พื้นสนามแบดมินตันและอุปกรณ์ เป็นต้น
  4. สนามแบดมินตัน 1 สนาม มีพื้นที่ประมาณ 108 ตร.ม. กว้าง 1.8 ม. ยาว 15 ม. รวม safety zone
  5. ราคาค่าก่อสร้าง ไม่รวมราคาที่ดิน โดยประมาณการที่ 15,000-20,000 บาทต่อ ตรม.
  6. ระยะเวลาคืนทุน
  7. ศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ตลาดและคู่แข่งสนามแบดมินตัน เพื่อสร้างสนามและบริการที่แตกต่าง วาง Position ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ (ทำ Research และหา Reference)
  8. คัดเลือกสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา ที่ปรึกษาโครงการผู้ให้บริการพื้นสนามแบดมินตัน เพื่อทำการออกแบบสนาม
  9. ระยะเวลาก่อสร้าง

การเตรียมพื้นที่ก่อนการติดตั้งพื้นสนามแบดมินตัน

  1. พื้นผิวต้องมีความเรียบเสมอกัน ไม่เป็นหลุมบ่อ ขรุขระ (ใช้มาตรฐานการวัดจากการที่น้ำขังแล้วไม่เกินความสูงของเหรียญ 5 บาท หากสูงกว่านั้น ทางพีบี สปอร์ต ถือว่าไม่พร้อมติดตั้ง) กรณีเป็นพื้นปูน จะต้องเป็นแบบขัดเรียบหรือขัดมันเท่านั้น
  2. พื้นผิวจะต้องมีความสะอาดปราศจาก เศษขยะ ฝุ่น อิฐ กรวด ทราย ฯลฯ โดยผู้ติดตั้งจะทำการทดสอบด้วยการติดเทปกาว ว่าสามารถยึดติดพื้นผิวได้หรือไม่
  3. พื้นผิวจะต้องมีความแห้งสนิท โดยผู้ติดตั้งจะทำการทดสอบด้วยการติดเทปกาว ว่าสามารถยึดติดพื้นผิวได้หรือไม่
  4. ภายในพื้นที่ต้องมีไฟฟ้า และระบบแสงสว่างพร้อม เพียงพอต่อการทำงานติดตั้งพื้นสนามแบดมินตัน
  5. ภายในพื้นที่ติดตั้งพื้นสนามแบดมินตัน ควรจะต้องเป็นงานติดตั้งงานสุดท้ายของโครงการ เมื่อเสร็จแล้วจะพร้อมเปิดบริการ ต้องไม่มีการทำงานอื่นใดระหว่างการติดตั้งหรือหลังการติดตั้ง เพื่อป้องกันการชำรุด เสียหายของพื้นสนาม

การเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของการติดตั้งพื้นสนามกีฬาประเภทต่างๆ

  1. พื้นยางแบบปูสำเร็จรูป พีบี สปอร์ต (ราคา ต่อตร.ม.: 900-1,500 บาท)
    ข้อดี

    1. พื้นยางปู เป็นลักษณะพื้นกีฬาประเภทเดียว ที่ได้รับการรับรองในการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก
    2. พื้นยางปูของ พีบี สปอร์ต เป็นรายเดียวที่ได้รับการรับรองจากสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ
    3. เหมาะกับการเล่นกีฬาในร่มโดยเฉพาะ สามารถติดตั้งจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญได้สะดวก รวดเร็ว ทั้งในสนามสร้างใหม่ และสนามเดิมที่ต้องการปรับปรุง
    4. เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย เนื่องจากพื้นผิวผลิตจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่โป่งพองจากความชื้น
    5. บำรุงรักษา ทำความสะอาดง่าย และค่าใช้จ่าในการดูแลรักษาถูก
    6. พื้นผิวถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการลื่นไถล นุ่มและรองรับแรงกระแทกได้ดี ช่วยถนอมข้อต่อ และสุขภาพร่างกายได้ดีที่สุด
    7. อายุการใช้งานทนทาน และความสวยงามยาวนาน
    8. ในปัจจุบันเป็นพื้นกีฬาแบดมินตันที่ได้รับความนิยมสูง และมีมูลค่าในการปล่อยเช่าชั่วโมงสูงที่สุด (150-180 บาท/ชม. ขึ้นไป)
    ข้อเสีย
    1. สามารถมองเห็นรอยต่อของแผ่นพื้นได้ แต่พื้นเรียบไม่มีสะดุด
  2. พื้นปูน (ราคา ต่อตร.ม.: 450-700 บาท)
    ข้อดี

    1. วัสดุราคาถูก หาผู้ติดตั้งได้ง่าย
    ข้อเสีย
    1. พื้นผิวแข็งกระด้าง ทำให้เรียบยาก มีรอยร้าว และเห็นได้ง่าย แข็งไม่รองรับแรงกระแทกของร่างกาย ทั้งเป็นอันตรายต่อการเคลื่อนที่ของผู้เล่นสูง ความสวยงามน้อย
    2. มูลค่าต่อสถานประกอบการ ในการปล่อยเช่าชั่วโมงต่ำที่สุด (ต่ำกว่า 80 บาท/ชม.)
  3. พื้นไม้ปาเก้ (ราคา ต่อตร.ม.: 1,000-3,000 บาท)
    ข้อดี

    1. ค่อนข้างเงางาม สวยงามหลังจากการติดตั้งเสร็จใหม่ อายุการใช้นาน แต่ต้องบำรุงรักษาตลอด
    ข้อเสีย
    1. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาสูง และเมื่อความชื้นในอากาศสูง จะทำให้พื้นสนามลื่น อันตรายต่อผู้ใช้งานมาก ใช้ไปนานๆ ชิ้นไม้มีโอกาสหลุดออกมาสูงมาก ซึ่งอันตรายต่อการใช้งาน และยากต่อการซ่อมแซม
    2. ในปัจจุบันหาช่างผู้ชำนาญการติดตั้ง และแก้ไขยาก มีปัญหาเรื่องปลวกอยู่เสมอ
  4. พื้นยางเทพียู (ราคา ต่อตร.ม.: 600-2,000 บาท)
    ข้อดี

    1. เมื่อทำเสร็จใหม่ พื้นจะมีความสวยงามไร้รอยต่อ
    ข้อเสีย
    1. ควบคุมการติดตั้ง ให้ตรงตามสเปคยาก
    2. บำรุงรักษา ซ่อมแซมให้กลับมาเหมือนเดิมยาก สภาพอากาศเมืองไทย มีความชื้นสูงทำให้พื้นลื่น และโป่งพอง
    3. พื้นผิวแข็งกระด้าง และมีรอยร้าวได้ง่าย ไม่รองรับแรงกระแทกของร่างกาย ทั้งผิวหน้ายังลื่นเป็นอันตรายต่อการเคลื่อนที่ของผู้เล่นสูง และเมื่อความชื้นในอากาศสูงจะทำให้พื้นลื่นมาก อันตรายต่อผู้เล่น
    4. ทำให้มูลค่าต่อสถานประกอบการ ในการปล่อยเช่าชั่วโมงต่ำ (100-120 บาท/ชม.)
  5. พื้นตัวต่อ จิ๊กซอว์ (ราคา ต่อตร.ม.: 900-2,000 บาท)
    ข้อดี

    1. ติดตั้งได้เร็ว และไม่ยาก เมื่อทำเสร็จใหม่ พื้นจะมีสีสันความสวยงาม
    ข้อเสีย
    1. ไม่ได้รับการยอมรับให้ใช้ในการแข่งขันระดับสากล
    2. พื้นผิวแข็งกระด้าง มีไฟฟ้าสถิตย์เยอะ เนื่องจากการเสียดสีของแผ่นจิ๊กซอว์ และเมื่อความชื้นในอากาศสูงจะทำให้พื้นลื่นมาก อันตรายต่อผู้เล่น มีรอยต่อ และไม่เรียบ
    3. ทำให้มูลค่าต่อสถานประกอบการ ในการปล่อยเช่าชั่วโมงต่ำ (100-120 บาท/ชม.)
  6. พื้นเรซิน อีพร้อกซี่ (ราคา ต่อตร.ม.: 600-2,000 บาท)
    ข้อดี

    1. เมื่อทำเสร็จใหม่ พื้นจะมีความสวยงามไร้รอยต่อ และหาผู้ติดตั้งได้ไม่ยาก
    ข้อเสีย
    1. พื้นผิวแข็งกระด้าง มัน และลื่น ไม่เหมาะต่อการเคลื่อนไหวในกีฬาแบดมินตัน อันตรายต่อผู้เล่นกีฬาอย่างยิ่งสภาพอากาศเมืองไทย มีความชื้นสูงทำให้พื้นลื่น และโป่งพองง่าย พื้นผิวแข็งกระด้าง และมีรอยร้าวได้ง่าย ไม่รองรับแรงกระแทกของร่างกาย ทั้งเป็นอันตรายต่อการเคลื่อนที่ของผู้เล่นสูง และเมื่อความชื้นในอากาศสูงจะทำให้พื้นลื่นมาก อันตรายต่อผู้เล่น
    2. ทำให้มูลค่าต่อสถานประกอบการ ในการปล่อยเช่าชั่วโมงต่ำ (100-120 บาท/ชม.)

คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับการเตรียมพื้นที่ก่อนติดตั้งพื้นสนามกีฬา

ปัจจุบัน PB-Underlay วัสดุรองพื้นก่อนการติดตั้งสนามกีฬา เป็นแนวทางการติดตั้งใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมสำหรับการทำพื้นสนามกีฬาโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ

  • ลดแรงกระแทก เพิ่มความปลอดภัยให้กับนักกีฬา
  • ระบายความชื้น ช่วยยืดอายุการใช้งานของพื้นสนามกีฬา
  • วัสดุมีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการปรับระดับพื้น เพิ่มมาตรฐานในการติดตั้ง

คุณสมบัติวัสดุรองพื้น PB-Underlay : ความหนา 10 มม. : สีดำ
สำหรับกันความชื้น กันกระแทก และ ปรับระดับพื้นเดิมให้เสมอพร้อมสำหรับการติดตั้ง
รับประกันเปลี่ยนสินค้าตลอดอายุการใช้งาน
ในราคาเริ่มต้นเพียงตารางเมตรละ 350 บาท

เอกลักษณ์วิธีการติดตั้งแบบ PB Sport ©

  • มีการตีเส้นสนามที่หน้างาน หลังการติดตั้งพื้นเท่านั้น  สินค้าต้องไม่มีการตีเส้นมาจากโรงงาน
  • ต้องใช้สี PVC สำหรับการตีเส้นสนามกีฬา สีขาว หรือเหลืองนวล ตีเส้นสนามเท่านั้น
  • รับประกันสินค้าพื้นสนามแบดมินตันเป็นเวลา 1-4 ปี และรับประกันรอยเชื่อมต่อ ตลอดอายุการใช้งาน
  • ติดตั้งรวดเร็ว ระยะเวลาการดำเนินการติดตั้ง ภายใน 15-30 วัน นับแต่วันสั่งซื้อสินค้า
  • ติดตั้งด้วยวิธีการเชื่อมร้อนเท่านั้น และไม่ใช้วัสดุกาวทาพื้นสนามยึดติดกับพื้นด้านล่าง

คุณสมบัติเส้นสนามแบดมินตันพีบี สปอร์ต มาตรฐานแข่งขันระดับสากล:

  • พื้นที่สนามแบดมินตันมาตรฐาน (Inside boundary Lines):  กว้าง 610 ซม. × ยาว 1,340 ซม.
  • พื้นที่สนามมาตรฐาน พร้อม Safety Zone Area:                  กว้าง 710 ซม. × ยาว 1,500 ซม.
  • พื้นที่รวมของสนามแบดมินตันมาตรฐาน:                             106.5 ตารางเมตร
  • ขนาดเส้นสนามแบดมินตัน (Draw Line):                             4 ซม. (ไม่เกิน 2 มม.)
  • สีของเส้นสนามแบดมินตัน (Color Line):                             สีขาวนวล หรือ สีเหลืองอ่อน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ pbsport.co.th/ติดต่อเรา/

การเตรียมความพร้อมก่อนเปิดให้บริการธุรกิจสนามแบดมินตัน

1) การเตรียมความพร้อมทีมงาน
-พนักงานต้อนรับ แนะนำสถานที่
-พนักงานขายสินค้าและบริการ
-พนักงานดูแลความสะอาด
-พนักงานรักษาความปลอดภัย
-พนักงานซ่อมบำรุง

2) การเตรียมความพร้อมงานบันทึกการรับจอง และงานขายสินค้าและบริการ
-งานบันทึกรับจองสนาม
-งานบันทึกการขายสินค้าและบริการ
-ปัญหาที่มักพบบ่อย

3) การประชาสัมพันธ์สนามแบดมินตัน
-รายละเอียดภายในของโครงการ
-จำนวนสนาม
-ตำแหน่งที่ตั้ง
-เบอร์ติดต่อ
-ช่องทางการประชาสัมพันธ์

4) แนวทางการทำการตลาดสนามแบดมินตัน
-กลุ่มเป้าหมาย ประเภทลูกค้าของธุรกิจสนามกีฬา (walkin / join group / training)
-ตัวอย่างการประชาสัมพันธ์ของสนามแบดมินตันอื่นๆ

5) วิธีการดูแลรักษาสนาม
– มาตรการควบคุมป้องกันโรคระบาด (New Normal)
– รายชั่วโมง
– รายวัน
– รายปี หรือ ทุก 6เดือน

6) หาพันธมิตรฯสำหรับการบริหารงานสนามแบดมินตัน
-เครื่องดื่ม
-ร้านเครื่องกีฬา
-ระบบการบริหารงาน
-Influencer
-Big cleaning

7) การบริหารและสร้างรายได้
-ชี้แจงหน้าที่และแนวทางการปฏิบัติงาน
-เทคนิคการจัดการเวลาสนาม
-รายได้ที่ธุรกิจสนามแบดมินตันจะได้รับ
-ค่าเช่าสนาม
-ค่าเช่าอุปกรณ์
-รายได้จากการขายเครื่องดื่มและของทานเล่น
-สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ภายในโครงการ

8) การแจ้งซ่อมบำรุง กับทางบริษัท พีบี สปอร์ต
-บันทึกวันที่ และ ตำแหน่งของปัญหาที่เกิดขึ้รอยืนยันนัดหมายการซ่อมบำรุงภายในสนามแบดมินตัน พร้อมภาพถ่าย
-แจ้งซ่อมบำรุงกับทางบริษัทตามช่องทางที่ท่านสะดวก

9) ปัญหาที่พบบ่อย

-การแต่งกายและรองเท้าที่เข้าใช้บริการควรเป็นอย่างไร?
-ถ้าลูกค้าใช้บริการเกินเวลาที่กำหนดควรจัดการอย่างไร?

การดูแลรักษาสนามแบดมินตัน

ายชั่วโมง : ภายหลังจบชั่วโมงการใช้สนาม ให้ใช้ไม้ดันฝุ่นเพื่อการดันฝุ่นผงและเศษขนไก่ออกจากสนาม โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ

ายวัน : ก่อนเปิดสนามรายวัน ให้ใช้ไม้ถูพื้นชุบน้ำเปล่าบิดหมาดๆ ถูพื้นสนาม ก่อนปิดสนามใช้ไม้ดันฝุ่นเพื่อการดันฝุ่นผงและเศษขนไก่ออกจากสนาม โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ

ายสัปดาห์ : ผสมน้ำเปล่ากับน้ำยาทำความสะอาดพื้น (ชนิดไม่เงา) หรือ น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป ที่ไม่มีส่วนผสมของกรด เพื่อนำไปใช้ในการถูรอบแรกจากนั้น ให้ใช้ไม้ถูพื้นชุบน้ำเปล่าบิดหมาดๆ เช็ดพื้นสนามอีกรอบ

ในกรณีที่สนามผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน จนเกิดความสกปรกยากเกินกว่าจะทำความสะอาดด้วยวิธีปกติ แนะนำให้ใช้เครื่องขัดพื้นด้วยแปรงขนอ่อน

การขอความร่วมมือและข้อห้ามในการใช้สนาม

  1. ขอความร่วมมือในการใส่รองเท้ากีฬาสำหรับแบดมินตันเท่านั้น ในการลงสนาม
  2. ขอความร่วมมือในการนำรองเท้ามาเปลี่ยนที่สนามแบดมินตัน แทนการใส่มาจากบ้าน
  3. ขอความร่วมมือในการทำความสะอาดรองเท้าที่บ่อหญ้าเทียมก่อนเข้าสนาม เพื่อเป็นการกำจัดฝุ่นผงและเศษหิน
  4. ห้ามนำ สิ่งของมีคม และ ของแข็ง เข้าไปในบริเวณสนาม
  5. ห้ามนำ สารเคมี และ วัตถุไวไฟ เข้าไปในบริเวณสนาม
  6. ห้ามทดสอบพื้นสนาม โดยการดึง กระชาก ขูด ขีด ข่วน หรือทำรอยใดๆ